Big Picture แบ่งเค้กและรวบอำนาจ

ฟุตบอลลีกอังกฤษก่อตั้งเมื่อคศ.1888 มี 12 สโมสร ก่อนเพิ่มเป็น 92 ทีมในปี 1950

ครบ 4 ดิวิชั่นแบบปัจจุบัน จนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เมื่อปี 1990

ฟุตบอลลีกอังกฤษก่อตั้งเมื่อคศ.1888 มี 12 สโมสร ก่อนเพิ่มเป็น 92 ทีมในปี 1950

นำโดยบิ๊ก 5 ลิเวอร์พูล แมนฯ ยูฯ อาร์เซน่อล ท็อตแน่มฯ และเอฟเวอร์ตัน อยากเจรจาลิขสิทธิ์โทรทัศน์เองและแยกตัวจากฟุตบอลลีกสถาบันเริ่มต้น

17 กรกฎาคม 1991 สมาชิกชุดก่อตั้งลงนามรับร่างแนวทางจัดตั้งเอฟเอ พรีเมียร์ ลีก ซึ่งพวกเขาสามารถเจรจาผลประโยชน์เอง โดยเฉพาะลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด แยกจากสมาคมฟุตบอลและฟุตบอลลีก เจ้าแรกที่เจรจาคือBskyB ได้สิทธิ์ถ่ายทอดสดพรีเมียร์ ลีกในประเทศอังกฤษ เริ่มจากวันเสาร์คู่ดึก วันอาทิตย์และวันจันทร์

 

โดยปกติก่อนหน้านั้น ฟุตบอลอังกฤษถ่ายทอดสดในอังกฤษเฉพาะนัดสำคัญ เจ้าของลิขสิทธิ์คือ ITV ส่วน BBC ได้สิทธิ์จัดรายการ Match of the day เวลา 23.00 น (เวลาอังกฤษ) นำเสนอไฮไลท์การยิงประตู การถ่ายทอดสดวันเสาร์ไม่มีเพราะต้องการให้คนดูเข้าสนาม จนกระทั่งยุคโควิค จึงมีการถ่ายทอดสดวันเสาร์ เพราะแฟนบอลเข้าสนามไม่ได้

 

ปี 1992 สโมสรดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 1991-92 ลงนามร่วมแยกตัวจากฟุตบอล ลีก และ 27 พฤษภาคม 1992  พรีเมียร์ ลีกเริ่มต้นอย่างเป็นทางการ โดย ริค พาร์รี่ รับตำแหน่ง CEO คนแรก

 

ผ่านมา 30 ปี ริค พาร์รี่ มีบทบาทสำคัญในฐานะ CEO ของ EFL ประกาศสนับสนุนข้อเสนอ Big Picture ที่นำทีมโดย ลิเวอร์พูลและแมนฯ ยูฯ พร้อมกับสมาชิกอีก 7  ทีม ที่อยู่ในพรีเมียร์ ลีกมายาวนานที่สุด นั่นคือแมนฯ ซิตี้ เชลซี อาร์เซน่อล ท็อต (บิ๊ก 6 ปัจจุบัน)  และเอฟเวอร์ตัน เซาท์แฮมป์ตันและเวสต์ แฮม

 

บทสรุปของ Big Picture คือ

เงินช่วยเหลือ

350 ล้านปอนด์ ให้ฟุตบอล ลีกและสมาคมฟุตบอล ชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นในฤดูกาล 19-20 และ 20-21

สำหรับ EFL  ได้ 50 ล้านปอนด์ ชดเชยความเสียหายจากวันแข่งขันฤดูกาล 19-20 และอีก 200 ล้านปอนด์สำหรับฤดูกาล 20-21

สำหรับสมาคมฟุตบอล รับประกันรายได้ 100 ล้านปอนด์ แบ่งเป็น ค่าดำเนินการ 55 ล้านปอนด์ 25 ล้านปอนด์ให้สโมสรระดับต่ำกว่า EFL 10 ล้านปอนด์ให้วีเมนส์ ซูเปอร์ ลีก และแชมเปี้ยนชิพ และ 10 ล้านปอนด์ระดับฟุตบอลระดับล่างสุด เงินเหล่านี้มาจากสโมสรในพรีเมียร์ ลีก

 

งบสำหรับสนามและสิ่งอำนวยความสะดวก

ส่วนแบ่ง 6 % จากรายได้ทั้งหมด กระจายให้ทุกทีมใน 4 ดิวิชั่น คิดอัตราตามความจุสนาม  100 ปอนด์/ที่นั่ง สามารถนำเงินนี้ไปปรับปรุงและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆเพื่อแฟนบอล

 

ประโยชน์เพื่อแฟนบอล

จำกัดราคาตั๋วทีมเยือนสำหรับเกมพรีเมียร ลีกไว้ 20 ปอนด์ และปรับปรุงทุก 3 ปี ตามอัตราเงินเฟ้อ

จัดให้มีบริเวณยืนดูเหมือนเดิม (ขึ้นอยู่กับการอนุมัติของรัฐบาลด้วย)

ทุกทีมต้องจัดส่วนแบ่งตั๋วทีมเยือน ไม่น้อยกว่า 3,000 ที่ หรือ 8 % ของความจุสนาม (แล้วแต่อย่างหนึ่งอย่างใดสูงกว่า)

 

เงินบริจาคประจำปี

เพิ่มเงินบริจาคประจำปีเพื่อการทำประโยชน์ในอังกฤษ 66 %

บริจาคเงิน 5 % จากรายได้ของพรีเมียร์ ลีก เพื่อฟุตบอลระดับล่างสุด เพื่อรณรงค์ต่อต้านการเหยียดผิวและกีดดันทางสังคม

การกระจายรายได้จากสื่อ เงินสนับสนุน (มี 3  แนวทาง)

1 50 % แบ่งเท่ากัน 25 % ตามอันดับ 25 % จากอันดับ 3 ฤดูกาลที่ผ่านมา (ให้ความสำคัญกับอันดับทั้งในพรีเมียร์ ลีกและเดอะ แชมเปี้ยนชิพ โดยครึ่งหนึ่งของเงินได้วัดจากอันดับใน 4 ฤดูกาล)

2 ตามอัตราปัจจุบัน 50 % แบ่งเท่ากัน 25 % ตามอันดับ และ 25 % ตามจำนวนเกมถ่ายทอดสด ทีมน้องใหม่ จะถูกระงับเงินไว้ 25 ล้านอนด์ใน 2 ฤดูกาลแรก เพื่อบรรเทาความเสียหายกรณีตกชั้น

3 แบบข้อ 2 แต่ทีมน้องใหม่ ได้ 25 % สำหรับค่าถ่ายทอดสดใน 3 ฤดูกาลแรก

เพิ่มเติม

ยกเลิกเงินส่วนแบ่งกรณีตกชึ้น แต่เพิ่มเงินค่าปรับปรุงสนาม เท่ากันระหว่าง ทีมพรีเมียร์ ลีก และEFL จาก 4 %เป็น 25 %

ลิขสิทธิ์ถ่ายทอดในประเทศและนานาชาติของพรีเมียร์ ลีกและ EFL จะขายพ่วงรวมกันโดยพรีเมียร์ ลีก

ลดเงินชดเชยให้ EFL กับสมาคมฟุตบอล โดยหักเงินยืมสำหรับสิ่งก่อสร้างและอื่นๆก่อน คำนวนส่วนแบ่งรายได้

 

พีรามิดฟุตบอล (โครงสร้างลีก 4 ระดับ)

ลดทีมพรีเมียร์ ลีกเหลือ 18 ทีมจาก 20 ทีมในปัจจุบัน ลดจำนวนเกมและเพิ่มเงินส่วนแบ่งให้ EFL ฤดูกาลเหลือ 34 นัด ลดภาระนักเตะและเป็นประโยชน์ต่อทีมชาติ จำนวนทีมใน เดอะ แชมเปี้ยนชิพ ลีก วันและลีก ทูจะเป็น 24 ทีม เพื่อคงจำนวนทีมฟุตบอลอาชีพ 92 ทีมเท่าเดิม

 

การเลื่อนและตกชั้น

2 อันดับสุดท้ายในพรีเมียร์ ลีก ตกชั้น

2  อันดับแรกจากเดอะ แชมเปี้ยนชิพเลื่อนชั้น

อันดับ 16 ในพรีเมียร์ ลีกเล่นทัวร์นาเมนต์กับอันดับ 3-5 ในเดอะ แชมเปี้ยนชิพ เพื่อหา 1 ทีมเลื่อนชั้น โดย อันดับ 16 พรีเมียร์ ลีกเจออันดับ 5 และ 3กับ4 ของเดอะ แชมเปี้ยนชิพเจอกันเอง

 

ตกจากเดอะ แชมเปี้นนชิพ 3 ทีม

ลีก วัน เลื่อนชั้น 3 ทีม ตกชั้น 4 ทีม

ลีก ทู เลื่อนชั้น 4 ทีม ตกชั้น 4 ทีม

 

ลิขสิทธิ์ของสโมสร

ทุกสโมสรในพรีเมียร์ ลีก ถือสิทธิ์ ขายเกมถ่ายทอด 8 นัดต่อฤดูกาลให้แฟนบอลโดยตรง ผ่านแพลทฟอร์มดิจิทัลของสโมสร ได้ในทุกประเทศ

ทุกทีมในพรีเมียร์ ลีกและแชมเปี้ยนชิพ สามารถเผยแพร่ไฮไลท์การแข่งขันได้บางนัดผ่านแพลทฟอร์มดิจิทัลสโมสร

ทุกสโมสรจะมีเกมถ่ายทอดสดในอังกฤษไม่เกิน 27 นัดต่อฤดูกาล

ห้ามถ่ายทอดสดบ่าย 3วันเสาร์เหมือนเดิม เพื่อส่งเสริมให้คนเข้าดูในสนาม

การแข่งขันอื่นๆ

 

ยกเลิกลีก คัพและคอมมิวนิตี้ ชิลด์ (ต่อมาปรับเป็น ทีมพรีเมียร์ ลีกที่แข่งถ้วยยุโรปไม่ต้องเล่น ลีก คัพ)

จัดตั้งการแช่งขันลีกอาชีพหญิง ซึ่งไม่ขึ้นตรงต่อพรีเมียร์ ลีกหรือสมาคมฟุตบอล

เอฟเอ คัพมีการแข่งขันใหม่เมื่อเสมอจากนัดแรก แต่ไม่มีการแข่งใหม่ในช่วงพักฤดูหนาว

พรีเมียร์ ลีกเริ่มต้นปลายเดือนสิงหาคม เพิ่มระยะเวลาพรี-ซีซั่นให้นานกว่าเดิม

พรีเมียร์ ลีก นัดสุดท้ายกับแชมเปี้ยนส์ ลีกนัดชิงห่างกันไม่เกิน 2 สัปดาห์

ทีมพรีเมียร์ ลีกต้องลงแข่งทัวร์นาเมนต์ฤดูกาลร้อนของพรีเมียร์ ลีกอย่างน้อย 1 ครั้งใน 5 ปี

 

การควบคุม

ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับพรีเมียร์ ลีกต้องผ่านการเห็นชอบจากผู้ถือหุ้น ยกเว้นคณะกรรมการเห็นชอบการเปลี่ยนเจ้าของทีม

การเห็นชอบถือมติ 2/3

สิทธิ์ในการลงมติของพรีเมียร์ ลีกคือ 1 สโมสร 1 สิทธิ์ ยกเว้นกรณี กลุ่มถือสิทธิ์พิเศษในการลงมติ

 

สิทธิ์พิเศษในการโหวต คือ 9 สโมสร ที่อยู่ในพรีเมียร์ ลีกนานที่สุด (คำนวนจากเวลา ณ การลงคะแนน) กลุ่มนี้ให้ถือเป็น กลุ่มผู้ถือหุ้นยาวนาน หากกลุ่มนี้ ลงมติเห็นชอบ 2/3 ก็ไม่จำเป็นที่จะรอมติจากสมาชิกอื่นๆในพรีเมียร์ ลีก ซึ่งสามารถทำได้ในกรณีต่อไปนี้

1 การเลือกและปลด CEO และกรรมการบริหาร

2 การปรับกฏระเบียบ

3การเจรจาขายลิขสิทธิ์ถ่ายทอด และแพลทฟอร์มอื่น

การเห็นชอบ 2/3 ของสมาชิกกลุ่มสิทธิ์พิเศษนี้ สามารถดำเนินเรื่องต่อไปนี้ได้

1 การเปลี่ยนสปอนเซอร์ ธุรกรรมและสิทธิ์ถ่ายทอด

2 เปลี่ยนการกระจายประโยชน์ต่างๆจากพรีเมียร์ ลีกให้สโมสร

3 ปรับวิธีการแข่งขัน

 

การเห็นชอบ 2/3 ของสมาชิกกลุ่มสิทธิ์พิเศษ สามารถระงับการอนุมัติเจ้าของทีมใหม่ของคณะกรรมการพรีเมียร์ ลีกได้

ทุกการเปลี่ยนแปลง เอาผลประโยชน์เป็นที่ตั้ง ขณะที่บิ๊ก 6 ต้องการมีสิทธิ์เหนือทีมอื่นในทุกกรณี เอาไม่เอา ทีมพรีเมียร์ ลีก ตอนนี้ต้องพิจารณาให้ดีก่อน

 

บทความโดย  :: กิตติกร อุดมผล

อ่านข่าวฟุตบอลต่างประเทศ :: ข่าวฟุตบอลวันนี้

บทความฟุตบอล :: บทความฟุตบอลก่อนหน้านี้

เว็บดูบอลออนไลน์ :: ดูบอลออนไลน์ฟรี