สวิส รัมเบิ้ลตอบคำถาม LFC ไม่ใช่เงิน

คำถามและความไม่พอใจในการบริหารงานของ FSG ในช่วงปิดฤดูกาลนี้

ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะแฟนบอลชาวไทย ความรู้สึกนี้เกิดขึ้นกับแฟนลิเวอร์พูลอาจทั่วโลก

คำถามและความไม่พอใจในการบริหารงานของ FSG ในช่วงปิดฤดูกาลนี้

 

อันนี้ไม่แน่ใจ แต่เกิดขึ้นแน่ในอังกฤษและยุโรป จนสวิส รัมเบิ้ล Swiss Ramble บริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการเงิน ทวิตรายละเอียดการเงินของลิเวอร์พูลเมื่อวานนี้ เวลาในบ้านเราน่าจะทุ่มกว่าๆ

สำหรับท่านที่ติดตามข่าวสารโดยตรงจากต่างประเทศคงทราบดี หากท่านไม่เล่นทวิตเตอร์ หรือไม่รับข่าวสารโดยตรงจากต่างประเทศท่านสามารถข้ามโพสต์นี้ของผมไปเลย หรือข้ามไปอ่านตอนท้ายซึ่งผมแสดงความคิดเห็นไว้ ทวิตของสวิส รัมเบิ้ลเริ่มจากตรงนี้

“แฟนลิเวอร์พูลมากมาย ไม่เข้าใจว่าทำไมสโมสรของพวกเขาไม่พยายามซื้อนักเตะ แน่นอนลิเวอร์พูลได้เงินมากมายจากการชนะแชมเปี้ยนส์ ลีกและพรีเมียร์ รายละเอียดโดยลำดับของการทวิตต์ (Thread) อธิบายว่า เงินเหล่านั้นไปไหนและทำไม ลิเวอร์พูลไม่ซื้อ”

“หน้าร้อนนี้ ลิเวอร์พูลใช้เงิน 12 ล้านปอนด์กับฟูล-แบ็คโอลิมเปียกอส ซิมิกาส แต่เชลซีทุ่มเงิน 201 ล้านปอนด์ ทีมอื่น่ายแบบระวังแต่ยังมากกว่าเดอะ เร้ดส์ แมนฯ ซิตี้ 71 ล้านปอนด์ สเปอร์ส 59 ล้านปอนด์ แมนฯ ยูฯ 35 ล้านปอนด์ เซาท์แฮมป์ตัน 31 ล้านปอนด์ และลิเวอร์พูลใช้สุทธิ 3 ล้านปอนด์”

“คล้ายฤดูกาลที่ผ่านมา ลิเวอร์พูลจ่ายแค่ 9 ล้านปอนด์ กับอาร์บี ซัลซ์บวร์กเพื่อมินามิโนะ จ่ายสุทธิ 2 ฤดูกาล 21 ล้านปอนด์ ขายสุทธิ 2  ฤดูกาล 31 บบ้านปอนด์ เรืองการซื้อถือว่าน้อยกว่า บิ๊ก6 ทีมอื่น 175 ต่อ 241 ส่วนเชลซีมีแต่ขายสุทธิ

“ทำให้หลายคนงงว่าเกิดอะไรขึ้น เพราะระยะหลังลิเวอร์พูลกำไรเยอะ ดังนั้นมาดูเหตุผลว่า ทำไมลิเวอร์พูลมีรายได้ดี และส่งผลให้สโมสรกำไร นอกเหนือจากตัวเลขี 2018-19 เราดูย้อนหลังทั้ง 3 ฤดูกาลด้วย”

“ลิเวอร์พูลแจ้งว่ากำไร 42 ล้านปอนด์ก่อนหักภาษี ในปี 2019 ทำให้ผลกำไรรวม 3 ปี คือ 207 ล้านปอนด์ (40 ล้านปอนด์ ปี 2017 และ 125 ล้านปอนด์ปี 2018) ถือว่าสูงสุดเป็นลำดับสองในช่วง 3 ปีของพรีเมียร์ ลีก น้อยกว่าแค่สเปอร์ส ซึ่งกำไร 3 ปี 278 ล้านปอนด์ แต่ยังมากกว่าอันดับ 3  คือแมนฯ ซิตี้ เป็นสองเท่า (110 ล้านปอนด์)”

“แต่กำไร 207 ล้านปอนด์ ไม่มีความหมายอะไร เพราะเป็นกำไรจากการขายนักเตะทั้งหมด 207 ล้านปอนด์ หากตัดยอดนี้ออก เท่ากับลิเวอร์พูลแค่ไม่ขาดทุน ลิเวอร์พูลใช้เงินทั้งหมดที่ได้และติดลบ (รายได้ 1,353 ล้านปอนด์ ค่าใช้จ่ายคือ 1,338 ล้านปอนด์และดอกเบี้ย 15 ล้านปอนด์”

“ให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น ผลประกอบการลิเวอร์พูลปี 2019 กำไรแค่ 1 ล้านปอนด์ และ 15 ล้านปอนด์ใน 3 ปีล่าสุด ปกติแล้วสโมสรฟุตบอลจะขาดทุนเพราะค่าประกอบการนี้แหละ สเปอร์สและแมนฯ ยูฯ ก็กำไรเหมือนกัน 205 ล้านปอนด์ และ 120 ล้านปอนด์ โดยลำดับ สำหรับ 3 ปีที่ผ่านมา”

“การขายนักเตะคือเรืองสำคัญของลิเวอร์พูล ยุทธศาสตร์การสร้างกำไร 207 ล้านปอนด์จากกิจกรรมนี้ตลอด 3 ปีที่ผ่านมา น้อยกว่าเชลซีเท่านั้น (243 ล้านปอนด์) แต่สูงกว่าบิ๊ก 6 ทุกทีม (อาร์เซน่อล 139 ล้านปอนด์ สเปอร์ส 124 ล้านปอนด์ แมนฯ ซิตี้ 112 ล้านปอนด์ และแมนฯ ยูฯ 55 ล้านปอนด์)”

“รายได้ของลิเวอร์พูลพุ่งขึ้น 231 ล้านปอนด์ (71%) ใน 3 ปีที่ผ่านมา จาก 302 ล้านปอนด์เป็น 533 ล้านปอนด์ นี่คือการเติบโตสูงสุดเป็นลำดับ 2 ในบิ๊ก 6 แพ้แค่สเปอร์ส แต่ยังสูงเป็นอันดับ 3 ของอังกฤษ ต่ำกว่าแมนฯ ยูฯ และแมนฯ ซิตี้ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ยูไนเต็ดและซิตี้ มีรายได้มากกว่าลิเวอร์พูล 445 ล้านปอนด์ และ 156 ล้านปอนด์ โดยลำดับ

“รายได้วันแข่งขันของลิเวอร์พูลเพิ่มขึ้น 22 ล้านปอนด์ (35%) ใน 3 ปีที่ผ่านมา จาก 62 ล้านปอนด์ เป็น 84 บ้านปอนด์ เพราะการขยายอัฒจันทร์หลัก ถือเป็นอัตราสูงสุดอันดับ 2 ของบิ๊ก 6 น้อยกว่าสเปอร์สเท่านั้น เพราะสนามใหม่และการเล่นที่เวมบลี่ย์”

“รายได้หลักของลิเวอร์พูลคือค่าลิขสิทธิ์ เพิ่มเป็น 2 เท่า จาก 124 ล้านปอนด์ เป็น 261 บ้านปอนด์ใน 3 ปี 137 ล้านปอนด์ถือว่าสูงสุดในอังกฤษ มากกว่าสเปอร์สนิดหน่อย แต่มากกว่าบิ๊ก 6 อย่างอาร์เซน่อลได้แค่ 42 ล้านปอนด์ เชลซีได้ 57 ล้านปอนด์”

“รายได้จากค่าลิขสิทธิ์ของพรีเมียร์ ลีก เพิ่มอีก 62 ล้านปอนด์ (68%) ใน 3 ปีที่ผ่านมา ตามข้อตกลงใหม่ แต่อันดับลิเวอร์พูลดีขึ้น จากที่ 8 เป็นที่ 2 ผลงานในสนาม ทำให้รายได้ลิเวอร์พูลในส่วนนี้มากสุดในบิ๊ก 6

“รายได้จากค่าถ่ายทอดเกมยุโรปก็มากขึ้น เพิ่มจาก 28 ล้านปอนด์ เป็น 98 ล้านปอนด์ใน 3 ปี เพิ่ม 70 ล้านปอนด์ หลังจากลิเวอร์พูลได้ชิงแชมเปี้ยนส์ ลีก เมื่อปี 2018 และได้แชมป์ในปีต่อมา ทำให้ลิเวอร์พูลมีรายได้มากกว่าเชลซี อาร์เซน่อล และขยับเข้าใกล้แมนฯ ซิตี้”

“นอกจากนี้ ใน 3 ฤดูกาล รายได้จากการค้าอื่นๆของลิเวอร์พูล เพิ่ม 72 ล้านปอนด์  (62 %) จากเดิม 116ล้านปอนด์เป็น 188 ล้านปอนด์ ขยับใกล้เคียงกับแมนฯ ยูฯ เพราะการได้สปอนเซอร์ใหม่ และยอดขายสินค้าปลีก เช่นเดียวกับโบนัสตามสัญญาเมื่อได้แชมป์ยุโรป”

“มาถึงประเด็นสำคัญ  รายได้เพิ่มขึ้น แต่ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ข้อเท็จจริงคือ ตั้งแต่ปี 2015 ลิเวอรืพูลแบกค่าจ้างเพิ่ม 87 % 144 ล้านปอนด์ ค่าใช้จ่ายเติบโตเร็วกว่ารายได้ ซึ่งเพิ่มแค่ 79 % หรือ 235 ล้านปอนด์ มากสุดในบิ๊ก 6 เพราะการซื้อนักเตะที่เก่งกว่าเดิม และต้องจ่ายโบนัสให้นักเตะเพิ่มขึ้น”

“นอกจากนี้ ค่าเสื่อมของนักเตะ รายจ่ายค่าตัวตามสัญญานักเตะ เพิ่ม 47 ล้านปอนด์ หรือ 73 % จาก 65 ล้านปอนด์เป็น 112 ล้านปอนด์ นับจากปี 2016 แสดงให้เห็นการลงทุนในทีม แต่ยังน้อยกว่าเชลซี 168 ล้านปอนด์ แมนฯ ซิตี้ 127 ล้านปอนด์ และแมนฯ ยูฯ 126 ล้านปอนด์”

“ผลกำไร-ขาดทุน ไม่อธิบายภาพรวมทั้งหมด แค่แสดงให้เห็นตัวเลขกำไร ซึ่งแตกต่างจากเงินสดหมุนเวียน 3 ปีที่ผ่านมา ลิเวอร์พูลกำไร 207 ล้านปอนด์ แคมีเงินสดหมุนเวียนแค่ 29 ล้านปอนด์ ต้องมาดูว่า เงินทั้งหมดหายไปไหน”

“สำหรับเงินสดหมุนเวียน เราต้องตัดเงินได้ทั้งหมด ทั้งจากการแลกเปลี่ยนนักเตะ (หมายถึง การขาย ค่าเสื่อมของนักเตะ และค่าเสื่อมอื่นๆ แล้วปรับทุนสำหรับหมุนเวียน”

“ณ จุดนี้ เราต้องเข้าใจว่า สโมสรฟุตบอลอยู่ด้วยการแลกเปลี่ยนนักเตะ ซื้อและชาย การขาดทุนเรื่องนี้ แตกต่างจากการเคลื่อนไหวเงินสด”

“สโมสรฟุตบอล ไม่มีค่าใช้จ่ายตลอดปีเฉพาะค่าตัวนักเตะ แต่ต้องคิดค่าเสื่อมราคานักเตะตามสัญญา แต่ถ้าขายเมื่อไรจะคิดกำไรทันที”

“เช่น การซื้อนักเตะ 30 ล้านปอนด์ สัญญา 5 ปี เท่ากับค่าเสื่อมอยู่ที่ 6 ล้านปอนด์ต่อปี 30 หาร 5 เท่ากับมูลค่านักเตะลดลงปีละ 6 ล้านปอนด์ 3 ปีผ่านไป ค่าตัวเหลือ 12 ล้านปอนด์ หายไป 18 ล้านปอนด์”

“หากขายนักเตะในช่วงนี้ ได้ 35 ล้านปอนด์ กำไรจากการขายนักเตะบวกเป็น 23 ล้านปอนด์ ส่วนยอดขายบันทึกไว้ 35 ล้านปอนด์”

“ค่าตัวนักเตะสูงขึ้น ค่าเสื่อมนักเตะคือรายได้สำคัญของกำไรและขาดทุน ดังนั้น ผลกำไรของลิเวอร์พูลใน 3 ปี 277 ล้านปอนด์ หากเทียบกับ แมนฯ ซิตี้ แมนฯ ยูฯ และเชลซี ซึ่งมากกว่า 400 ล้านปอนด์

“เงินทุนหมุนเวียนระยะสั้น บ่งบอกถึงสภาพคล่อง หากตัวเลขนี้เปลี่ยนแปลง ส่งผลกระทบต่อเงินหมุนเวียน ผลกำไรสุทธ  รายได้ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น แทนที่จะเป็น ณ การจ่ายเงินออกไป”

“หากหนี้สินเพิ่ม สโมสรจะชำระหนี้ช้าลงเพื่อคงไว้ซึ่งเงินสด (รักษาสภาพคล่อง) ขณะเดียวกัน หากลูกหนี้เพิ่ม เท่ากับสโมสรเก็บเงินจากลูกค้าได้น้อยลง ส่งผลกระทบต่อเงินสดหมุนเวียน”

“บางสโมสรมรเงินสดหมุนเวียนเยอะ สเปอร์ส มี 197 ล้านปอนด์ (ด้วยเหตุผลหลายอย่าง เช่น แหล่งการเงินให้เครดิตเพิ่ม) ลิเวอรืพูลมีแค่ 16 ล้านปอนด์ ส่วนเชลซีบันทึกยอดนี้ติดลบ 75 ล้านปอนด์ เพราะมีลูกหนี้

“อันนี้คือเรืองเทคนิคทางบัญชี แต่มีความสำคัญต่อลิเวอร์พูล ในการปรับกำไรหรือขาดทุน สโมสรอื่นมีเงินสดมากกว่า ลิเวอร์พูลมีสินทรัพย์ 293 ล้านปอนด์ (แบ่งเป็นค่าเสื่อมนักเตะ 277 ล้านปอนด์ เงินสด 16 ล้านปอนด์) แต่แมนฯ ซิตี้มีสินทรัพย์รวม 544 ล้านปอนด์”

“ใน 3 ฤดูกาล ลิเวอร์พูลมีผลกำไรจากการประกอบการ 15 ล้านปอนด์ แต่ปรับตัวเลขเป็น 307 ล้านปอนด์ ขณะที่แมนฯ ซิตี้ ผลประกอบการขาดทุน 74 ล้านปอนด์ก็จริง แต่มีตัวเลขสินทรัพย์ 470 ล้านปอนด์ สเปอร์สมี 640 ล้านปอนด์ และแมนฯ ยูฯ มี 635 ล้านปอนด์

“ทั้งหมดนี้อธิบายว่า ทำไมลิเวอร์พูลมีเงินซื้อนักเตะน้อยกว่าทีมคู่แข่ง แม้ผลประกอบการกำไร พวกเขาจ่ายเงินสุทธ  147 ล้านปอนด์ ตลอด 3 ปีที่ผานมา ต่ำสุดเป็นลำดับ 2 ในบิ๊ก 6 (ตัวเลขจากยอดซื้อ 425 ล้านปอนด์ลบขาย 278 ล้านปอนด์

“นอกจากนี้ ลิเวอร์พูลจ่ายเงิน 90 ล้นปอนด์ ในการปรับปรุงอัฒจันทร์หลั และสนามซ้อมเคอร์บี้ ส่งผลต่อภาพรวมของกำไรขาดทุน มากสุดเป็นลำดับ 2 ในบิ๊ก 6 แต่ถือว่าน้อยไปเลย เมื่อสเปอร์สลงทุนพันล้านปอนด์ในการสร้างสนามใหม่”

“อยางไรก็ตาม ลิเวอร์พูลมีหนี้สิน 129 ล้านปอนด์ สเปอร์สมี 658ล้านปอนด์ แมนฯ ยูฯ มี 511 ล้านปอนด์ อาร์เซน่อลมี 209 ล้านปอนด์ ลิเวอร์พูลมีเงินยืมแบบไม่มีดอกเบี้ยจากเจ้าของ แต่ต้องจ่ายดอกเบี้ย 6 ล้านปอนด์ใน 3 ปี ขณะที่แมนฯ ยยูฯ จ่าย 53 ล้านปอนด์ สเปอร์สจ่าย 46 ล้านปอนด์ อาร์เซน่อลจ่าย 34 ล้านปอนด์) สำหรับการกู้ยืมอื่นๆ”

“เพราะผลประกอบการขาดทุนในปีก่อนๆ ลิเวอร์พูลไม่ต้องจ่ายภาษีส่วนนี้ ตลอด 3 ฤดูกาล แต่สเปอร์สจ่าย 47 ล้านปอนด์ อาร์เซน่อลจ่าย 20 ล้านปอนด์ และแมนฯ ยูฯจ่าย 15 ล้านปอนด์”

“หลังยุคฮิคส์กับจิลเล็ตต์ สภาพการเงินลิเวอร์พูลดีกว่าเดิม พวกเขาลดหนี้สิน ลง 53 ล้านปอนด์ใน 3 ปี จาก 182 ล้านปอนด์เหลือ 129 ล้านปอนด์”

“สเปอร์สมีหนี้เพิ่ม 510 ล้านปอนด์เพราะสร้างสนามใหม่ ส่วนอบราโมวิชอัดเงินให้เชลซี 258 ล้านปอนด์ แมนฯ ซิตี้ได้เงินจากการขายหุ้น 64 ล้านปอนด์ แต่ลิเวอร์พูลต้องจ่ายหนี้ 34 ล้านปอนด์ แมนฯ ยูฯแบ่งผลกำไรให้หุ้นส่วน 69 ล้านปอนด์”

“จากการคำนวนรวมทั้งหมด ลิเวอร์พูลมีเงินแค่ 29 ล้านปอนด์ สำหรับ 3 ปีที่ผ่านมา แมนฯ ซิตี้ มี 77 ล้านปอนด์ แมนฯ ยูฯ 61 ล้านปอนด์ อาร์เซน่อล 60 ล้านปอนด์ สเปอร์สมี 49 ล้านปอนด์”

“อาร์เซน่อบและสเปอร์สมีบัญชีที่ดีกว่าจากหลายปีก่อน ขณะที่ลิเวอร์พูลอาจมีเงินสดเพิ่มอีก 29 ล้านปอนด์ เป็น 38 ล้านปอนด์ แต่ยังน้อยกว่าคู่ต่อสู้คือ แมนฯ ยูฯ 308 ล้านปอนด์ อาร์เซน่อบ 167 ล้านปอนด์ แมนฯ ซิตี้ 130 ล้านปอนด์ สเปอร์ส 123 ล้านปอนด์”

“นอกจากนี้ หนี้ของลิเวอร์พูลจากยุคก่อนหน้านี้ คงอยู่ อาจไม่ต้องนับในรอบบัญชี แต่สวิส รัมเบิ้ลคาดว่า ค่าใช้จ่ายจากการซื้อนักเตะเพิ่ม 167 ล้านปอนด์ ในปี 2019 (ยังมีลูกหนี้ 59 ล้านปอนด์) “

“ข่าวดีคือลิเวอร์พูล ไม่มีปัญหาด้าน ไฟแนนเชี่ยล แฟร์ เพลย์ กำไร 207 ล้านปอนด์ ปอนด์จาก 3 ฟดูกาล สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 69 ล้านปอนด์ (การลงทุนด้านเยาวชน ชุมชน ทีมหญิง ค่าเสื่อม ) เท่ากับ 3 ปี ลิเวอร์พูลผลประกอบการเท่าทุน 275 ล้านปอนด์ ตามหลักการของยูฟ่า”

“คาดว่า รายงานของลิเวอร์พูลปี 2019  จะแย่กว่าเดิม กำลังก่อนหักภาษี 10 ล้านปอนด์ (ปีที่แล้ว 42 ล้านปอนด์) รายได้ลดลง 23 ล้านปอนด์ กำไรจากการขายนักเตะ 19 ล้านปอนด์ ซึ่งชดเชยด้วยการแบกค่าเหนื่อยน้อยลง 10 ล้านปอนด์”

“ใช้ตัวเลขรายได้ค่าผ่านประตูนัดละ 3.2 ล้านปอนด์ เท่ากับรายได้ส่วนนี้ฤดูกาล 19-20 น้อยลง 13 ล้านปอนด์ เพราะเล่นโดยไม่มีนดู 4 นัด แชมเปี้ยนส์ ลีกได้เล่นน้อยลง แต่เล่นเอฟเอ คัพมากขึ้น”

“สัญญาใหม่ของทีวี ส่วนแบ่งของลิเวอร์พูลอยู่ที่ 23 ล้านปอนด์ จาก 152 เป็น 175 ล้านปอนด์ แต่ต้องชดเชยด้วยการคืนค่าลิขสิทธิ์ 22 ล้านปอนด์ จากยอดรวม 330 ล้านปอนด์”

“ผลกระทบจากโควิด จะเป็นอย่างไร คือสิ่งที่ทุกคนกังวล รายได้จากสปอนเซอร์คือไนกี้ และค่าผ่านประตูที่จะกลับมาอีกครั้ง”

“สวิส รัมเบิ้ลคาดว่า สองปีนี้ ทีมเจอผลกระทบประมาณ 96 ล้านปอนด์ หากแฟนบอลเข้าสนามได้ในต้นปีหน้า และอาจสูงถึง 135 ล้านปอนด์ หากแฟนบอลเข้าสนามไม่ได้เลย”

“หลายทีมหาทางออกด้วยการกู้ยืม สเปอร์สกุ้ 175 ล้านปอนด์ แมนฯ ยูฯ 140 ล้านปอนด์ แม้แต่อาร์เซน่อลก็ยืมเงินสแตน โครนเค่เพื่อลดภาระค่าดอกเบี้ย”

“ลิเวอร์พูลไม่มีการกู้ยืม แต่เลื่อนโครงการต่างๆ เช่นปรับปรุงสนาม เพื่อรักษาสภาพคล่อง และอาจมีเงินเพิ่ม หากเลื่อนกำหนดชำระหนี้ 34 ล้านปอนด์ เหมือนปี 2018-19”

“ลิเวอร์พูลสามารถลงทุนกับนักเตะได้หรือไม่  คำตอบคือได้ แต่ต้องขายเพื่อซื้อ ไม่อย่างนั้น FSG ต้องเปลี่ยนวิธีการดำเนินธุรกิจ ซึ่งหมายถึงการเป็นหนี้เพิ่ม หรือเจ้าของทีมต้องลงทุนด้วยเงินตัวเอง”

“แบบการดำเนินธุรกิจของ เชลซี และแมนฯ ซิตี้ ซึ่ง FSG บอกว่าไม่ทำอย่างนั้นเด็ดขาด พวกเขาต้องการให้สโมสรอยู่ได้แบบยั่งยืน แต่ภายใต้ภาวะที่ไม่แน่นอนแบบนี้ สวิส รัมเบิ้ล บอกว่า อะไรก็เกิดขึ้นได้”

 

 

บทความโดย  :: กิตติกร อุดมผล

อ่านข่าวฟุตบอลต่างประเทศ :: ข่าวฟุตบอลวันนี้

บทความฟุตบอล :: บทความฟุตบอลก่อนหน้านี้

เว็บดูบอลออนไลน์ :: ดูบอลออนไลน์ฟรี